ปรับปรุงล่าสุด 9 ก.ค. 2020 02:57:47 199

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวกล้องปลอดสารบ้านสร้างมิ่ง

ผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาว

      

ผลิตภัณฑ์ OTOP 3 ดาว

ผลิตภัณฑ์ OTOP

      

    

 

 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านสวนงัว

 

      

 

 

ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดคุณภาพเยี่ยม      

โครงการส่งเสริมการทำนาปลอดสารพิษตำบลหนองเมือง

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

    

๑. ชื่อโครงการ   โครงการส่งเสริมการทำนาปลอดสารพิษตำบลหนองเมือง

๒. หลักการและเหตุผล

          ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 4 ผลผลิตทางการเกษตรกรรมมีการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่า มีกลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับประชากรส่วนใหญ่ในตำบลหนองเมือง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การทำการเกษตรของเกษตรกรในอดีตที่ผ่านมาเกษตรกรนิยมใช้สารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตของพืชของเกษตรกรสูงและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ดินจะแข็งกระด้างขาดความอุดมสมบูรณ์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ส่วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง จึงส่งเสริมสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในตำบลผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชีวภาพอัดเม็ด เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีลง และทดแทนด้วยการใช้สารอินทรีย์แทน

          ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการทำนาปลอดสารพิษตำบลหนองเมือง” นี้ขึ้น

3. วัตถุประสงค์

          3.1 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรตำบลหนองเมือง

          3.2 เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรตำบลหนองเมือง

          3.3 เพื่อสร้างเสริมความรู้ในการผลิตปุ๋ยใช้เองและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรตำบลหนองเมือง

          3.4 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์

4. เป้าหมาย

          เกษตรกรในเขตตำบลหนองเมือง ทั้ง 14 หมู่บ้าน

5. วิธีการดำเนินการ

          5.๑ เสนอโครงการต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ

          5.2 ดำเนินการจัดหาพัสดุตามโครงการฯ

          5.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์แนวทางของโครงการ ในห้วงระยะเวลาที่กำหนด

          5.4 ประเมินการจัดโครงการโดยวิธีสังเกตการณ์และแบบประเมินโครงการ

6. ระยะเวลาดำเนินการ

          เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – จนถึงปัจจุบัน

7. งบประมาณดำเนินการ

          ใช้งบดำเนินการทั้งสิ้น 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) แยกค่าใช้จ่าย ดังนี้

          ค่าวัสดุใช้ในการทำปุ๋ย

                   1.มูลไก่ จำนวน 17 ตันๆละ 1,700 บาท เป็นเงิน            28,900          บาท

                   2.มูลวัวจำนวน 15 ตันๆละ 1,700 บาท เป็นเงิน            25,500          บาท

                   3.โดโลไมค์ จำนวน 17 ตันๆละ 1,700 บาท เป็นเงิน         28,900          บาท

                   4.ฟอสเฟส จำนวน 17 ตันๆละ 2,200 บาท เป็นเงิน         37,400          บาท

                   5.รำอ่อน จำนวน 4 ตันๆละ 10,000 บาท เป็นเงิน40,000          บาท

                   6.แกลบดำ จำนวน 4 ตันๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 4,800         บาท

                   7.EM จำนวน 25 ลิตรๆละ 90 บาท      เป็นเงิน           2,250         บาท

                   8.กากน้ำตาล จำนวน 90 กิโลกรัมๆละ 15 บาท เป็นเงิน     1,350         บาท

                   9.ไคโตซาน จำนวน 25 ลิตรๆละ 120 บาท เป็นเงิน        3,000         บาท

                   10.ถุงบรรจุปุ๋ย (ถุงนอก) จำนวน 1,350 ถุงๆละ 8 บาท เป็นเงิน      10,800         บาท

                   11.ถุงบรรจุปุ๋ย (ถุงใน) จำนวน 1,350 ถุงๆละ 3 บาท เป็นเงิน           4,050        บาท

                   12.ด้ายเย็บถุงปุ๋ย จำนวน 15 ม้วนๆละ 65 บาท เป็นเงิน      975         บาท

                   13.ผ้าปิดจมูก จำนวน 50 ผืนๆละ 15 บาท เป็นเงิน            750         บาท

                   14.แว่นตากันฝุ่น จำนวน 50 อันๆละ 200 บาท เป็นเงิน       10,000     บาท

                   15.ถุงมือผ้า จำนวน 53 คู่ๆละ 25 บาท เป็นเงิน                 1,325      บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถเฉลี่ยกันได้

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ

           สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          9.1 เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

          9.2 เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เองได้

          9.3 เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีรายได้เพิ่มขึ้น

          9.4 คุณภาพของดินและผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น